การสร้างศักยภาพครู
ความหมายของศักยภาพ
ทุกวันนี้มีการนำคำว่า "ศักยภาพ" ไปใช้กันเกร่อ ตามแฟชั่น โดยที่ผู้ใช้บางคนยังไม่รู้ความหมายของมันด้วยซ้ำไป
ศักยภาพของบุคคลใด หมายถึง ความสามารถสูงสุดที่เป็นไปได้ของบุคคลนั้นถ้าหากบุคคลนั้นได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างเต็มที่และถูกทางทั้งทางกายและทางจิต
ดังนี้น ความสามารถที่เรามีอยู่ในขณะนี้จึงยังไม่ใช่ศักยภาพของเรา เราจึงต้อง "พัฒนาความสามารถ" หรือ "พัฒนาสมรรถนะ" เพื่อที่จะเข้าไปใกล้ศักยภาพของเรา ไม่ใช่ "พัฒนาศักยภาพ" เพราะแม้แต่ในคนที่เก่งมาก ๆ เราก็ยังไม่ทราบว่าเขาไปได้ถึงครึ่งศักยภาพของตัวเขาเองแล้วหรือยัง เนื่องจากยังไม่มีใครสร้างเครื่องมือวัดศักยภาพ (ความสามารถสูงสุดที่ยังไม่เกิดขึ้น) ของมนุษย์ได้ แค่วัดความสามารถที่มีอยู่แล้วในขณะนี้ ก็ยังไม่ทราบว่าผลที่วัดได้นั้นตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ เรื่องที่จะไปขยายหรือพัฒนาศักยภาพจึงยังไม่ต้องพูดถึง
ดังนั้น จึงควรใช้คำว่า "พัฒนาความสามารถ" หรือ "พัฒนาสมรรถภาพ" หรือ "พัฒนาสมรรถนะ" ให้เต็มศักยภาพ (เป็นความพยายามที่จะไปให้ถึง แต่ในความเป็นจริง ทำได้แค่เข้าไปใกล้ศักยภาพอีกนิดหนึ่ง ก็ดีใจแล้ว)
ความหมายของสมรรถภาพ
คำว่า สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงาน หรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด สมรรถภาพทางกายจะลดลงทันที
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย การที่คนเราจะทราบได้ว่า สมรรถภาพทางกายของตนจะดีหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาที่องค์ประกอบต่าง ๆ ของสมรรถภาพ ทางกาย ซึ่งกองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพกรมพลศึกษา ได้กล่าว สมรรถภาทางกายโดยทั่วไป ประกอบด้วย สมรรถภาพ ด้านย่อย 9 ด้าน
1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
2. ความทนทานของกล้ามเนื้อ
3. ความทนทานของระบบหมุนเวียนของโลหิต
4. พลังของกล้ามเนื้อ
5. ความอ่อนตัว
6. ความเร็ว
7. การทรงตัว
8. ความว่องไว
9. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาและเท้ากับตา
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่ละด้าน มีความหมายที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถในการหดตัวหรือการทำงานของกล้ามเนื้อที่จะทำ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้สูงสุดในแต่ละครั้ง เช่น ความสามารถในการยกของหนัก ๆ ได้ มีพลังบีบมือได้เหนียวแน่น และสามารถออกแรง ผลักของหนัก ๆ ให้เคลื่อนที่ได้เป็นต้น
2. ความทนทานของกล้ามเนื้อ หมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้
ติดต่อกัน เป็นเวลานาน ๆ ได้งานมาก แต่เหนื่อยน้อย ตัวอย่าง การทำงานที่แสดงถึงความทนทานของกล้ามเนื้อ เช่น การแบกของหนักได้ เป็นเวลานาน ๆ การวิ่งระยะไกล การถีบจักรยานทางไกลการงอแขนห้อยตัวเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น
3. ความทนทานของระบบหมุนเวียนโลหิต หมายถึงความสามรถในการทำงานขอระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งประกอบด้วย หัวใจ ปอด และเส้นเลือดที่จะทำงานได้นาน เหมื่อยช้า ในขณะที่บุคคลใช้กำลังกายเป็นเวลานานและเมื่อร่างกาย เลิกทำงานแล้ว ระบบหมุนเวียนโลหิตจะสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ในเวลารวดเร็ว ตัวอย่างกิจกรรมที่ ปฏิบัติแล้วแสดงถึง การมีความทนทานของ ระบบหมุนเวียนโลหิต เช่น การว่ายน้ำระยะไกล การวิ่งระยะไกล โดยการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจไม่ผิดปรกติ
4. พลังกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานในครั้งหนึ่งอย่างแรงและรวดเร็ว จนทำให้วัตถุหรือร่างกาย เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ การทำงานของร่างกายที่ใช้พลังกล้ามเนื้อ จะเป็นกิจกรรมประเภทการดึง ดัน ทุ่ม พุ่ง ขว้าง และกระโดด ดังตัวอย่าง การกระโดดสูง การทุ่มน้ำหนัก พุ่งแหลน ขว้างจักร และการยืนกระโดดไกล เป็นต้น
5. ความอ่อนตัว หมายถึง การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด และข้อต่อต่าง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นในขณะทำงาน หรือ อาจกล่าวได้ว่าเป็นความสามารถในการเหยียดตัวของข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในขณะทำงาน เช่น การก้มตัวใช้มือแตะพื้นโดยไม่งอเข่า การแอ่นตัวใช้มือแตะขาพับได้โดยไม่งอเข่า เป็นต้น
6. ความเร็ว หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่ในลักษณะเดียวกัน จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในแนวเดียวกัน หรือในแนวตรงในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เช่น การวิ่งระยะสั้น
7. การทรงตัว หมายถึง การประสานงานระหว่างระบบของประสาทกับกล้ามเนื้อที่ทำให้ร่างกายสามารถ
ทรงตัวอยู่ใน ตำแหน่งต่าง ๆ อย่างสมดุลตามความต้องการ กิจกรรมที่เป็นการทรงตัว เช่น การเดินตามเส้นตรงด้วยปลายเท้า การยืนด้วยเท้าข้างเดียวกางแขน การเดินต่อเท้าบนสะพานไม้แผ่นเดียว เป็นต้น
8. ความว่องไว หรือความคล่องตัว หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง หรือเปลี่ยนตำแหน่ง
การเคลื่อนไหว ของร่างกายอย่างรวดเร็ว และตรงเป้าหมายตามที่ต้องการ ดังตัวอย่างที่แสดงถึงความว่องไว เช่น การยืนและนั่งสลับกันด้วย ความรวดเร็ว เป็นต้น
9. ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาแลเท้ากับตา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการประสานงานของประสาทกับ
กล้ามเนื้อ ในการทำงาน หมายถึง ความสามารถที่จะทำการเคลื่อนไหวมือและเท้าได้สัมพันธ์กับตาในขณะทำงาน เช่น การจับ การปาเป้า การยิงประตูฟุตบอล การส่งลูกบอลกรทบฝาผนังแล้วรับ เป็นต้น
ประโยชน์ของการมีสมรรถภาพทางกายดี
การมีสมรรถภาพทางกายที่ดีนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการพอสรุปส่วนที่สำคัญได้ดังนี้
1. กล้ามเนื้อมีความสามารถในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกกำลังกายหรือ
ทำงานจะมี ขนาดใหญ่แข็งแรงมากขึ้น
2. กล้ามเนื้อหัวใจจะมีความแข็งแรงสามารถหดบีบตัวได้แรงขึ้น ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น หัวใจ สามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้น
3. ระบบประสาทสามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้ดีขึ้น จะช่วยให้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความชำนาญ
4. ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกายเจริญเติบโตได้สัดส่วนสามารถทำงาน อย่าง มีประสิทธิภาพ
5. ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคสูง และลดการเจ็บป่วยเนื่องจากผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีย่อมมีสุขภาพดี
ไม่มีโรคเบียดเบียน
6. มีบุคลิกดี ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีร่างกายจะมีการทรงตัวดีมีทรวดทรงที่สง่างาม เป็นการช่วยเสริมบุคลิกภาพ ได้ทางหนึ่ง
7. เกิดความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติงานหรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ
8. เกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ดี เพราะผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดี ย่อมมีสุขภาพดี การทีสุขภาพที่ดี สมบูรณ์ ์แข็งแรงช่วยให้จิตใจแจ่มใส เมื่อจิตใจแจ่มใส ย่อมมีสมาธิเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ
เสริมความรู้
สำหรับในประเทศไทย นิยมใช้แบบทดสอบซึ่งคณะกรรมการนานาชาติได้ศึกษาวิจัยหาวิธีการวัดและเกณฑ์มาตรฐาน สมรรถภาพทางกายขึ้น โดยใช้ชื่อแบบทดสอบว่า แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานของคณะกรรมการนานาชาติ
(Internationnal Committee For the Standardization of physical Fitness test หรือ ICSPFT)
คุณภาพของครูไทย
เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนเพียงแห่งเดียว แต่สามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่เป็นสังคมรอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเตอร์เน็ต บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยครูต้องช่วยแก้ไข และชี้แนะความรู้ทั้งถูก ผิด ที่ผู้เรียนได้รับจากสื่อภายนอก รวมทั้งสอนให้รู้จักการคิดวิเคราะห์ กลั่นกรองความรู้อย่างมีวิจารณญาณ ก่อนนำข้อมูลมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
นอกจากนี้ครูยังต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนและต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของตนเอง ดังที่ รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง [16] ได้เสนอทักษะที่จำเป็นสำหรับครูไทยในอนาคต (C-Teacher) ไว้อย่างน่าสนใจ 8 ประการคือ
1. Content ครูต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี หากไม่รู้จริงในเรื่องที่สอนแล้ว ก็ยากที่นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ
2. Computer (ICT) Integration ครูต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้กับนักเรียน และหากออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมความรู้และทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
3. Constructionist ครูผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ภายในเข้ากับการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรนำแนวคิดนี้ไปพัฒนาวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ที่คงทนและเกิดทักษะที่ต้องการ
4. Connectivity ครูต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียนกับครู ครูภายในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา และสถานศึกษากับชุมชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติอันจะก่อให้เกิดประสบการณ์ตรงกับนักเรียน
5. Collaboration ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างนักเรียนกับครู และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน เพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. Communication ครูต้องมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การเลือกใช้สื่อ และการนำเสนอ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
7. Creativity ครูต้องออกแบบ สร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนมากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้หน้าห้องเพียงอย่างเดียว
8. Caring ครูต้องมีมุทิตาจิตต่อนักเรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยอย่างจริงใจต่อนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความเชื่อใจ ส่งผลให้เกิดสภาพการเรียนรู้ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสภาพที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด
เมื่อหน้าที่และบทบาทของครูผู้สอนได้เปลี่ยนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวมาเป็นการกล่าวนำเข้าสู่บทเรียน ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนำ ให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน จึงเกิดวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้น [19] มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่าย (Network) อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ครูต้องมีการปรับทัศนคติใหม่ พัฒนาความรู้และทักษะความสามารถที่จำเป็นตามแนวทาง C-Teacher ที่ได้กล่าวมาข้างต้น
การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู
1. สมรรถนะ (competency) ความหมายของสมรรถนะความเป็นมาของมรรถนะ
2. แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะเริ่มจากการนาเสนอบทความทางวิชาการของ เดวิด แมคเคลแลนด์ (David C. McClelland) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาววาร์ด เมื่อปี ค.ศ.1960ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่ดีของบุคคล (Excellent Performer) ในองค์การกับระดับทักษะความรู้ ความสามารถ โดยกล่าวว่า การวัดไอคิว (IQ) และการทดสอบบุคลิกภาพยังไม่เหมาะสมในการทานาย ความสามารถหรือสมรรถนะของบุคคลได้เพราะไม่ได้สะท้อนความสามารถที่ แท้จริงออกมาได้ ความเป็นมาของมรรถนะ
3. ในปี ค.ศ. 1973 แมคเคลแลนด์ (McClelland)ได้เขียนบทความวิชาการเรื่อง “Testingfor Competence ratherthan Intelligence” ซึ่งถือเป็นจุดกาเนิดของแนวคิดเรื่องสมรรถนะ ที่สามารถอธิบายบุคลิกลักษณะของคนว่าเปรียบเสมือนกับภูเขาน้าแข็ง (Iceberg) แผนภูมิที่ 1 แบบจาลองภูเขาน้าแข็ง (The lceberg Model)
4. ความหมายของสมรรถนะ สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลซึ่งได้แก่ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณสมบัติต่างๆอันได้แก่ ค่านิยม จริยธรรม บุคลิกภาพ คุณลักษณะทาง กายภาพและอื่นๆ ซึ่งจาเป็นและสอดคล้องกับความเหมาะสมกับองค์การโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งต้องสามารถจาแนกได้ว่าผู้ที่จะประสบความสาเร็จในการทางานได้ต้องมีคุณลักษณะ เด่นๆอะไร หรือลักษณะสาคัญๆ อะไรบางอย่าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สาเหตุที่ทางาน แล้วไม่ประสบความสาเร็จเพราะขาดคุณลักษณะบางประการคืออะไร
5. ความรู้ (Knowledge) -ทักษะ (Skill) - ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง (Self –Concept) - บุคลิกลักษณะประจาตัวของบุคคล (Traits) - แรงจูงใจ / เจตคติ (Motives / Attitude) องค์ประกอบของสมรรถนะ
6. ประเภทของสมรรถนะ สมรรถนะส่วน บุคคล สมรรถนะ องค์การ สมรรถนะหลัก สมรรถนะ ในงาน สมรรถนะเฉพาะงาน
7. คุณลักษณะของสมรรถนะ 1.แรงจูงใจ (Motive) 2.คุณสมบัติ ส่วนบุคคล (Trait) 3.แนวคิด ตนเอง (Seif Concept ) 5.ทักษะ (Skill) 4.ความรู้ (Knowledge)
8. ศักยภาพของครู เป็ นพลังที่สร้างอยู่ในสมองของมนุษย์ เกิดขึ้นโดยการกระตุ้นจาก สิ่งแวดล้อม สะสม พัฒนา เชื่อมโยงเส้นใยประสาทเป็นประสบการณ์แห่ง การเรียนรู้
9. คุณสมบัติศักยภาพของครู 1.คุณสมบัติด้าน ความรู้ 2.คุณสมบัติด้าน บุคลิกภาพ 3.คุณสมบัติด้าน สุขภาพอนามัย
10.คุณสมบัติ ด้านความรู้ 1.วิชาภาษาและเทคโนโลยีสาหรับครู 2.วิชาการพัฒนาหลักสูตร 3.วิชาการจัดการเรียนรู้ 4.วิชาจิตวิทยาสาหรับครู 5.วิชาการวัดและการประเมินผลการศึกษา 6.วิชาการบริหารจัดการในห้องเรียน 7.วิชาการวิจัยทางการศึกษา 8.วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 9 วิชาความเป็นครู
11.คุณสมบัติ ด้านบุคลิกภาพ - การแต่งกาย - กิริยามารยาท - การยืน การเดิน การนั่ง - การพูดจา - บุคลิกภาพที่ดีของครู
12.คุณสมบัติ ด้านสุขภาพ อนามัย การพัฒนาร่างกายให้สัมพันธ์กับ สภาพแวดล้อมโดยการรักษาอายตนะ ทั้ง 5 คือ ตา จมูก ลิ้น และกายให้ สมบูรณ์
1.การใช้สายตาให้เป็นประโยชน์
2. การดูแลรักษาหู
3. การดูแลจมูก
4. การดูแลรักษาลิ้น
5.การดูแลรักษากายให้เป็นปกติ การดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ตามหลัก “10-อ”
อ-1 อาหาร รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ
อ-2 อากาศ อยู่ที่อากาศที่ถ่ายเทสะดวก
อ-3 อารมณ์ รักษาอารมณ์ให้ดี ไม่เครียด ทาจิตให้สงบ
อ-4 ออกกาลังกาย ควรออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ
อ-5 อุจจาระ ถ่ายให้เป็นเวลาเป็นกิจวัตร
อ-6 อุบัติเหตุ ไม่ประมาทมีสติอยู่เสมอ
อ-7 เอวองค์ รักษารูปร่างให้พอเหมาะพอดี
อ-8 อบายมุข งดอบายมุขทั้งปวง
อ-9 อบอุ่น สร้างความอบอุ่นทั้งร่างกายและจิตใจ
อ-10 อดิเรก สร้างความเพลิดเพลินให้แก่ชีวิต เช่น เลี้ยงสัตว์เล่นดนตรี
13. บุคลิกภาพ ความหมายของบุคลิกภาพ ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่ได้แสดงออกทางพฤติกรรมต่างๆ เช่น ความคิด ความเชื่อ ทัศคติ ค่านิยม รสนิยม หรือ อารมณ์ เป็นต้น อันเป็น ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสภาพแวดล้อมที่แสดงถึงตัวตนจริงๆของบุคคลนั้นๆ
14. บุคลิกภาพ มีความสาคัญต่อบุคคลทั้งในด้าน ส่วนตัวและอาชีพการงาน กล่าวคือในด้านส่วนตัว หากบุคคลใดมีบุคลิกภาพดี ย่อมเป็นที่ชื่นชอบของ บุคคลที่พบเห็นและยินดีที่จะมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ความสาคัญของบุคลิกภาพ
15. ลักษณะของบุคลิกภาพ
1.บุคลิกภาพภายนอก (External Personality)
คือ คุณลักษณะทุกสิ่งทุกอย่าง ของบุคคลอื่นสามารถฟังได้ด้วยหูหรือด้วยตา
2.บุคลิกภายใน(Internal Personality)
คือ สิ่งที่ซ่อน อยู่ภายในตัวบุคคล เป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น สัมผัสได้ยาก
16. บุคลิกภาพที่ดี่ต่อตนเอง
1.การแต่งกาย ควรแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ
2.กิริยามารยาท เน้นเฉพาะกิริยาซึ่งบุคคลต้อง มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเป็น
3.การยืน ชาย – ยืนลาตัวให้ตรง เข่าชิดปลายเท้าแยกห่างกันพอสมควรปล่อยมือตามสบาย หญิง – ยืนลาตัวตรง ปลายเท้าและส้นเท้าชิดกัน ปล่อยมือตามสบาย
4.การเดิน การเดินมีความสาคัญ ยืนหรือนั่ง หากเดินไม่สวย ไม่สง่างามแล้ว ย่อมทาลายบุคลิกภาพ
5. การนั่ง การนั่งมีความสาคัญต่อสุขภาพและบุคลิกภาพ ดังนั้นครูอาจารย์จึงควรระมัดระวังและ ฝึกฝนการนั่งให้สง่างามอยู่เสมอ
6. การพูดจา ผู้ที่เป็นครูอาจารย์ทุกคนจึงจาเป็นต้องพัฒนาการพูดของตนอยู่เสมอ
7. การรับประทานอาหาร บางคนรับประทานอาหารไม่ค่อยระมัดระวังหือไม่สารวมในการ รับประทานอาหารทาให้ดูน่าเกลียด เสียภาพลักษณ์ที่ดี บุคลิกพื้นฐานที่จาเป็น สาหรับครู
17. บุคลิกภาพภายนอกที่ดีของครู ตัวอย่าง เช่น ร่างกายสมส่วนไม่อ้วนผอม สุขภาพแข็งแรง ร่างกายสะอาดผิวพรรณผ่องใส หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส กิริยาอาการสงบ ยืน เดิน นั่ง เรียบร้อย ทางานคล่องแคล่วว่องไว พูดจาชัดถ้อยชัดคา เสียงดังฟังชัด แต่งกายเรียบร้อย บุคลิกภาพที่ดีของครู บุคลิกภาพภายในที่ดีของครู ตัวอย่าง เช่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ดี ความรู้รอบตัว ปฏิภาณไหวพริบดีความจาดี อารมณ์ดีมีอารมณ์ขัน กะตืนรือร้นตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์จริงใจ เมตตากรุณากตัญญูกตเวที ช่างสังเกต มีความอดทน มั่นใจในตนเอง
18. การพัฒนาบุคลิกภาพของครู 4.การประเมินตนเอง (Self evaluation) การประเมินผล เป็นการ สารวจตรวจสอบครั้ ง สุดท้ายหลังจากได้กระทา ตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ 3.การฝึ กฝนตนเอง (Self training) หมายถึง การ ควบคุมตนเองให้ปฏิบัติ ตามพฤติกรรมหรือสิ่งที่ ได้รับการปรับปรุงแก้ไข แล้วอย่างสม่าเสมอ โดย การหมั่นฝึ กฝนปฏิบัติ เป็นประจาจนเกิดเป็น นิสัย 2.การปรับปรุงตนเอง (Self improvement) การ ปรับปรุงตนเองจะมีขึ้น ไ ด้ ต้ อ ง อ า ศั ย ก า ร วิเคราะห์ตนเองเบื้องตน ก่อน นั่นคือจะต้องฝึกฝน ตนให้เป็นคน “ รู้เหตุ-รู้ผล “ 1.การวิเคราะห์ตนเอง (Self analysis) หมายถึง การสารวจตรวจสอบว่า ตัวเองมีสิ่งใดดีหรือสิ่ง ใดบกพร่องหรือมีสิ่งใด เหมาะสมกับงานที่ทา บ้าง
19. ค่านิยม คือ แนวคิด ความประพฤติหรือสภาพของการกระทาใดๆ ที่บุคคลในสังคมนิยมชมชอบและเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การ ประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็ นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตามอย่าง สม่าเสมอ หรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้บรรลุถึงจุดมั่งหมายของตนเอง หรือของสังคม ค่านิยมของครู
20. มีอิสระในชีวิต
1.การเลือก (Choosing) ประกอบด้วยการเลือกทางอย่างอิสระ ไม่ถูก บังคับเลือกจากทางเลือกหลายๆ ทาง และเลือกจากผลการพิจารณาทางเลือก ทุกทาง
2.การให้คุณค่า (Prizing) ประกอบด้วยการให้คุณค่าในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากทางเลือกหลายๆ ทาง และยืนยันการตัดสินใจเลือกตามที่ตนคิดอย่าง เปิดเผย
3.การปฏิบัติ (Acting) ประกอบด้วยการกระทาตามที่ตนเองตัดสินใจ เลือก และการปฏิบัติซ้าจนเกิดเป็นลักษณะนิสัย ลักษณะสาคัญของค่านิยม
21. การเกิดค่านิยม
1.ความคิดและประสบการณ์
2.การอบรมสั่งสอน
3.การชักชวนจากบุคคลอื่น
4.การศึกษาเล่าเรียน
5.การปลูกฝังอุดมการณ์
6.การเห็นตามกัน
7.การใช้กฎข้อบังคับ
8.ความนิยมตามยุคสมัย
9.ความเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและวันธรรม
22.ชนิดของค่านิยม
1.ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values)
2.ค่านิยมทางสังคม (Social Values)
3.ค่านิยมทางความจริง (Truth Values)
4.ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values)
5.ค่านิยมทางสุนทรียะภาพ (Aesthetic Values)
6.ค่านิยมทางศาสนา (Religious Values)
23. ค่านิยมที่ครูควรนิยมและไม่ ควรนิยม
1.ค่านิยมที่ครูควรนิยม
2.ค่านิยมที่ครูไม่ควรนิยม
24. การพัฒนาค่านิยมในวิชาชีพครู การพัฒนาค่านิยมในวิชาชีพครู หมายถึง การทาให้ครูยอมรับ ความสาคัญของวิชาชีพความเจริญงอกงามของผู้ประกอบวิชาชีพและ สถาบันวิชาชีพครูด้วย หรือการพัฒนาฝนวิชาชีพ คือ ทาความเชื่อมั่น ใจในคุณค่าของความเป็นครูให้ดีขึ้น
25. สร้างศรัทธาในวิชาชีพ ครูโดยการตระหนักใน คุณค่าของความเป็นครู
-เกียรติและศักดิ์ศรีของวิชาชีพ
-เป้าประสงค์ของ วิชาชีพ
-สถานภาพทาง วิชาชีพ
-ความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ
26. การพัฒนาค่านิยมในวิชาชีพครูโดยอาศัยปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ
-ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา
-จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างค่านิยม
-ประกาศเกียรติคุณยกย่องครูอาจารย์ที่มีความสามารถดีเด่น
-ทาการวิจัยเพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงคุณธรรม
-จัดหาเอกสารเพื่อการสร้างคุณธรรม
-สถาบันวิชาชีพครูต้องเร่งรัดพัฒนาวิชาชีพครูให้เจริญ
-คัดเลือกนักศึกษาที่จะมาเรียนครูอย่างเคร่งครัด
27. ความศรัทธาในวิชาชีพครู ความหมายของความศรัทธา ความศรัทธาจะต้องเป็นความเชื่อ ความเลื่อมใส หรือความรู้สึกซาบซึ้ง ซึ่งเกิด จากความมั่นใจในเหตุผล ความมั่นใจที่เกิดจากความศรัทธานี้สามารถแยก ออกเป็นองค์ประกอบได้ 3 ประการ คือ
1) มั่นใจว่าเป็นไปได้
2) มั่นใจว่ามีคุณค่า
3) มั่นใจว่าพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้
28. ประการที่สอง คือ ศรัทธาต่ออาชีพครู ประการที่สาม คือ ศรัทธาต่อองค์กร วิชาชีพครู ประการที่หนึ่ง คือ ศรัทธาต่อตนเอง การสร้างศรัทธาในอาชีพครู
29. ข้อคิดเกี่ยวกับศรัทธา
1.ศรัทธาเป็นธรรมขั้นต้น เป็นเครื่องมือชักนาให้ก้าวไปสู่จุดหมายได้ผลรวดเร็วขึ้น
2.ศรัทธาในพุทธธรรมมีเหตุผลเป็นฐานรองรับ มีปัญญาคอยควบคุม จึงยากที่จะผิดนอกจากพ้นวิสัย จริงๆ ถ้าผิดแล้วสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้จะไม่ผิดตลอดกาล เพราะต้องค้นคว้าทดลองหาเหตุผลอยู่เสมอ 3.ถ้าคนเราศรัทธาด้วยอารมณ์ด้านเดียวถือว่าเป็นความเชื่องมงายจาเป็นต้องกาจัดต้นตอแก้ไขให้ถูกต้อง
4.คนทุกคนเมื่อเข้าสู้อาชีพที่ตนเลือกแล้ว ควรศรัทธาในอาชีพนั้นๆ
อ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/
เกริ่นนำ
.......สวัสดีนี้ครับ....ขอต้อนรับท่านที่เข้ามาเยือน...Blogger...นี้ที่เป็นสื่อและใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาความเป็นครู...ในภาคเรียนที่..1/2558...เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมระหว่างการเรียนรู้แบบปกติกับการเรียนรู้บนออนไลน์...หรือที่เรียกว่า..webblog.....เป็นการเรียนรู้ที่กว้างขวางแล้วยังมีบทความและรูปภาพ...สื่อต่างๆที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นแถมยังทำให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้าง...ยิ่งไปกว่านี้เรายังสามารถนำข้อมูลจากการศึกษามาตรวจสอบเพื่อก่อให้เกิดความชัดเจนถูกต้องและลึกซึ้ง....ผมหวังว่า webblog นี้จะให้ข้อมูลและเนื้อหา...ความรู้...สื่อต่างๆ...ให้แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาไม่มากก็น้อย...หากมีบทความหรือข้อมูลที่ผิดหรือขาดหายขออภัยมา...ณ...ที่นี้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น