เกริ่นนำ

.......สวัสดีนี้ครับ....ขอต้อนรับท่านที่เข้ามาเยือน...Blogger...นี้ที่เป็นสื่อและใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาความเป็นครู...ในภาคเรียนที่..1/2558...เป็นระบบการเรียนการสอนที่ผสมระหว่างการเรียนรู้แบบปกติกับการเรียนรู้บนออนไลน์...หรือที่เรียกว่า..webblog.....เป็นการเรียนรู้ที่กว้างขวางแล้วยังมีบทความและรูปภาพ...สื่อต่างๆที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นแถมยังทำให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้าง...ยิ่งไปกว่านี้เรายังสามารถนำข้อมูลจากการศึกษามาตรวจสอบเพื่อก่อให้เกิดความชัดเจนถูกต้องและลึกซึ้ง....ผมหวังว่า webblog นี้จะให้ข้อมูลและเนื้อหา...ความรู้...สื่อต่างๆ...ให้แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาไม่มากก็น้อย...หากมีบทความหรือข้อมูลที่ผิดหรือขาดหายขออภัยมา...ณ...ที่นี้ด้วย

หน่วยการเรียนที่ 1


ความหมายของครู

   ครู คือ บุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคนคำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ” และภาษาบาลี ครุ



ความหมายของคำว่า “อาจารย์”




ปัจจุบันคำว่า “ครู” กับ “อาจารย์” มักจะใช้ปะปนหรือควบคู่กันเสมอ จนบางครั้งดู เหมือนว่า จะมีความหมายเป็นคำคำเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว รากศัพท์เดิมของ คำว่า “อาจารย์” ไม่เหมือนกับคำว่า “ครู” และเมื่อพิจารณาถึงความหมายดั้งเดิมแล้วยิ่งไม่เหมือนกัน


ความสำคัญของความเป็นครู


      อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งสิ้นยากที่จะกล่าวอ้างว่าอาชีพใดมีความสำคัญกว่ากัน แต่ถ้าเรามาพิจารณาเฉพาะวิชาชีพครูให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่าผู้เป็นครูนั้นต้องรับภาระหน้าที่ต่อสังคมและชาติบ้านเมืองหากผู้เป็นครูปฏิบัติภาระที่ตนเองได้รับบกพร่องผลกระทบก็จะตกไปถึงความเสื่อมของสังคมและชาติบ้านเมืองเพื่อให้นักศึกษาครูได้ตระหนักถึงความสำคัญของครูจึงขออัญเชิญระราโชวาทของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู  ณ.อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2523 มากล่าวในที่นี้ ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า หน้าที่ของครูนั้นเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจให้แก่เยาวชน เพื่อที่จะได้เติบโต ขึ้นเป็นผลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการสร้างสรรค์บันดาลอนาคตของชาติบ้านเมือง..."และอีกตอนหนึ่งเป็นพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู  ณ อาคารใหม่สวนอัมพร  วันพุธที่18 พฤษภาคม  พ.ศ.2526  ความตอนหนึ่งว่า


"...อาชีพครูถึงว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งก็ได้แก่เยาวชนของชาติ เสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน จึงจะสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ ..."

.....จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้ข้างต้น เป็น เครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของครูที่มีต่อความเจริญของบุคคล และชาติบ้านเมือง เป็นอย่างยิ่ง ชาติบ้านเมืองจะเจริญได้เพราะประชาชนในชาติได้รับการศึกษาที่ดี และมีครู ที่มีคุณภาพ



สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู

1.ครูคือนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา

2.ครูคือผู้ใช้อาวุธลับของชาติ

3.ครูคือทหารเอกของชาติ

4.ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
5.ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
6.ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง
7.ครู คือ ผู้สร้างโลก
8.ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
9.ครู คือ ปูชนียบุคคล
10.ครู คือ วิศวกรสังคม


    หน้าที่ในการสั่งสอนและฝึกฝนวิทยาการ (Teaching and Training) ภารกิจประการแรกสุดและสำคัญที่สุดของผู้ประกอบวิชาชีพครูคือการสั่งสอนวิชาความรู้และการฝึกฝนวิทยาการให้กับศิษย์ ไม่ว่าหลักสูตรหรือปรัชญาการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรผู้เป็นครูก็จะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเล่าเรียน คุณภาพที่เด่นที่สุดของครูก็คือการสอนครูที่สอนดีคือครูที่รู้วิธีฝึกฝนศิษย์ให้มีความรู้ความเข้าใจวิชาที่เรียน การสอนของครูในยุคโลกาภิวัตน์ รุ่ง แก้งแดง (2541 : 140-146) เสนอกระบวนการสอนไว้ 10 ขั้นตอน ดังนี้

1.ศึกษารวบรวมข้อมูลของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูต้องศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อทำความรู้จักกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดูพัฒนาการของเด็ก ดูข้อมูลภูมิหลังพื้นความรู้ความสามารถทางการเรียน และความต้องการของผู้เรียน

2.วิเคราะห์เพื่อค้นหาศักยภาพของผู้เรียน โดยใช้จิตวิทยาการเรียนรู้หรือเทคนิคพหุปัญญา (Multiple Intelligence) เพื่อดูว่าผู้เรียนมีศักยภาพทางปัญญาด้านไหนมากน้อยเท่าใด ครูก็จะสามารถช่วยเหลือแนะนำเพื่อจัดการศึกษาให้เสอดคล้องกับศักยภาพและความสามารถของผู้เรียนได้ การวิเคราะห์เช่นนี้ครูจะสามารถช่วยทั้งผู้เรียนที่มีสติปัญญาสูงโดยส่วนรวม หรือมีความพิการเบื้องต้น ด้านใดด้านหนึ่งก็สามารถที่จะพัฒนาไปได้เต็มตามศักยภาพ

3.รวมกับผู้เรียนในการสร้างวิสัยทัศน์ ครูกระตุ้นความต้องการของผู้เรียนได้โดยการช่วยเด็กสร้างวิสัยทัศน์หรือความฝันที่จะไปให้ไกลที่สุด เพื่อที่จะสร้างพลังและแรงจูงใจ

4.ร่วมวางแผนการเรียน การเรียนเป็นสิทธิความรับผิดชอบของผู้เรียนหน้าที่ของครูก็คือเป็นผู้ร่วมวางแผน เป็นผู้ให้คำแนะนำในฐานะผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์มากกว่า แต่การวางแผนการเรียนจริงๆ นั้นต้องเป็นเรื่องของผู้เรียน เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย
5.แนะนำช่วยเหลือเรื่องการเรียน เป็นขั้นตอนที่จะเข้ามาทดแทนขั้นตอนการสอนเดิม คือแทนที่ครูจะบอกเนื้อหาให้แบบเดิม ครูก็เพียงแต่แนะนำเนื้อหาบางส่วนและวิธีการเรียนให้ผู้เรียน
6.สรรหาและสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ ครูเป็นผู้สนับสนุนสรรหาสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ จัดหาเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้ประกอบการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้
7.ให้ผู้เรียนสร้างความรู้เอง เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขั้นตอนนี้อาจเป็นเรื่องยากและเรื่องใหม่สำหรับครู เพราะครูที่คุ้นอยู่กับการสอนแบบเดิมจะไม่อดทนที่จะปล่อยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะหันกลับไปใช้วิธีบอกให้จำอย่างเดิม
8.เสริมพลังและสร้างกำลังใจ หน้าที่ของครูอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องเสริม พลังแก่ผู้เรียน อธิบายหรือแนะนำเพื่อให้ ผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะเรียนต่อไป ครูต้องใช้ทุกวิธีที่จะกระตุ้นเพื่อสร้างความสนใจให้เรียนต่อไปได้
9.ร่วมการประเมินผล หน้าที่ของครูในขั้นประเมินผลคือ จะไม่วัดผลฝ่ายเดียวแบบเดิม แต่ให้คำแนะนำเรื่องการวัดและประเมินผล โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง เพื่อดูว่าสามารถเรียนได้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนมากน้อยเพียงใด ถ้าผู้เรียนยังไม่บรรลุผลตามที่วางไว้ก็จำเป็นที่จะต้องกลับไปวางแผนและแก้ไขใหม่
10.เก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะเป็นข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขการเรียนต่อไป
           ครูที่สอนตามกระบวนการดังกล่าวมานี้จะมีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ภาพที่ครูยืนอยู่หน้าชั้นใช้เพียงชอล์กกับกระดานและบอกให้เด็กท่องจำ   จะกลายเป็นอดีตไปอย่างสิ้นเชิง ครูยุคใหม่จะมีบทบาทเป็น”ผู้อำนวยความสะดวก” (Facilitator) ผู้ให้คำแนะนำและเสริมพลังแก่นักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง         


หน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงประสงค์ของครู


      หน้าที่และความรับผิดชอบของครู ดังกล่าวแล้วทั้งหมดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของศิษย์ ของตัวผู้ประกอบวิชาชีพครูและสังคมซึ่งได้แก่หน่วยงานทางการศึกษาที่ครูสังกัดตลอดจนประเทศชาติ ครูที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ครู งานครู และมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ย่อมเป็นครูที่มีความเป็นครูโดยแท้จริง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ครูเป็นไปอย่างมีคุณภาพสมกับเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่สังคมประสงค์ คุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรที่มีกฎหมายรองรับได้ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 11 ข้อ เรียกว่า เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ. 2537 และได้ประสานงานกับสำนักงานข้าราชการครู (ก.ค) ให้ใช้เกณฑ์นี้ในการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมงานบุคคล โดยใช้เป็นมาตรฐานในการคัดเลือกข้าราชการครูเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของกระทรวง


       “ความเป็นครู หมายถึง การมีความรู้ดีประกอบด้วยวิชาที่ถูกต้องแน่นแฟ้นและแจ่มแจ้งแก่ใจ รวมทั้งคุณความดีและความเอื้ออารี ปรารถนาที่จะถ่ายทอดเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีด้วย ความแจ่มแจ้งแน่ชัดในใจย่อมทำให้สามารถส่องแสดงความรู้ออกมาให้เข้าใจตามได้โดยง่ายทั้งในการปฏิบัติงานก็ย่อมทำให้ผู้ร่วมงานได้เข้างานโดยแจ่มชัด ส่วนความหวังดีโดยบริสุทธิ์ใจนั้น จะน้อมนำให้เกิดศรัทธาแจ่มใสมีใจพร้อมที่จะรับความรู้ด้วยความเบิกบาน ทั้งพร้อมที่ร่วมกับผู้อื่นที่มีคุณสมบัติของครูโดยเต็มใจและมั่นใจ ดังนี้ ก็จะทำให้กิจการใดๆที่กระทำอยู่ดำเนินไปโดยสะดวกราบรื่นและสำเร็จประโยชน์ที่มั่งหมายโดยสมบูรณ์   

สรุปเรื่องหน้าที่ของครู


      โดยวัฒนธรรมไทยนั้นสังคมจะยกย่องครูให้อยู่ในฐานะที่สูงอยู่แล้ว เพราะสังคมไทยเคารพว่าผู้เป็นครูย่อมเป็นผู้มีวิชาแกร่งกล้าสามารถสอบผู้อื่นได้ ทั้งต้องเป็นผู้มีจิตใจเอื้ออารีมีเมตตาและปรารถนาดีต่อผู้อื่น จึงยอมถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ ฉะนั้นในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมไทย ครูต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อศิษย์ โดยสั่งสอนให้ศิษย์มีความรู้ เข้าใจสิ่งที่เรียน ให้สามารถนำวิชาที่เรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อวิชาของครูด้วย คือต้องมีความรู้จริง รู้สึกซึ้งแจ่มแจ้งจนสามารถสอนให้ศิษย์เข้าใจตามได้โดยง่าย ประการสุดท้ายครูต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบต่องานและผู้ร่วมงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทั้งยังช่วยให้ผู้ร่วมงานทำงานอย่างสมบูรณ์ด้วยนั่นเอง



       หน้าที่และความรับผิดชอบของครูมีมากมายหลายด้าน แต่อาจกำหนดภารกิจเป็นลักษณะงานได้ 8 ด้าน คือ งานสั่งสอนและฝึกฝนวิทยาการ งานอบรมคุณธรรมและจริยธรรม งานวิจัยและการศึกษาค้นคว้า งานถ่ายทอดวัฒนธรรม งานมนุษย์สัมพันธ์ งานหน้าที่พิเศษต่างๆ งานรายงานผลนักเรียนและการแนะแนว และงานกิจกรรมนักเรียน ซึ่งหากว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูสามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน ให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้ทุกงานดังกล่าวก็ได้ชื่อว่าเป็นครูผู้มีความรับผิดชอบ และหากว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูปฏิบัติด้วยใจ มุ่งมั่น และมีสำนึกก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเป็นครูที่ประสบความสำเร็จในอาชีพครู อย่างไรก็ตามสำหรับครูในยุคโลกาภิวัตน์นี้ ได้มีกรอบหรือกฎเกณฑ์สำหรับกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู เป็นวิธีการตรวจสอบที่เป็นรูปธรรมโดยคุรุสภาซึ่งเป็นองค์วิชาชีพครู เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูดังกล่าวมี 11 มาตรฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การจักกระบวนการในการเรียนการสอนให้กับศิษย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะหน้าที่หลักของครูนั้นย่อมอยู่ที่ศิษย์ ความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของครูก็เป็นความรับผิดชอบที่มีต่อศิษย์นั่นเอง




 การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่

        1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ

        2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต

        3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
        4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
        5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
        6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ



 วินัยและการรักษาวินัย  

    1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

    2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น

    3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด             

    4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถืประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ             
    5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง             
    6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
   7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ       
   8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง             
   9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่รชการของตน               
 10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง               
  11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท               
  12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
   13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว                   
          



 คุณธรรม จริยธรรมของครู   

                            

        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร               

        2.ครูต้องมีวินัยตนเอง             
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง           
        4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น         
        5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน           
        6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์         
        7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น             
        8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที             
        9.ครูต้องไม่ประมาท             
       10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี       
       11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ             
       12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา     
       13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น             
       14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์         
       15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา         
       16.ครูต้องมีการให้อภัย             
       17.ครูต้องประหยัดและอดออม             
       18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่             
       19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ           
       20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์



  จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

1.ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
2.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

3.ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

4.ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

5.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ6.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ

7.ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ 
8.ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
9.ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลป         วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



สมรรถนะของครู

การประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะจะต้องประเมินสมรรถนะ 2 ด้าน ดังนี้

1. สมรรถนะหลัก ประกอบด้วย

1.1  การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้มีคุณภาพถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

1.2  การให้บริการที่ดี ได้แก่ ความตั้งใจในการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

1.3  การพัฒนาตนเอง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในวงราชาการและวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
1.4  การทำงานเป็นทีม ได้แก่ การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือสนับสนุน เสริมแรงให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นหรือแสดงบทบาทผู้นำ ผู้ตาม ได้อย่างเหมาะสม
2.    สมรรถนะประจำสายงาน
2.1  การออกแบบการเรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้และนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างได้ผล
2.2  การพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสุขภาพกายจิตที่ดีให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.3  การบริหารจัดการชั้นเรียน ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอน การทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชาและการกำกับชั้นเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพและ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น

บทบาทและหน้าที่ของครู
บทบาทและหน้าที่ของครู คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษา หน้าที่และการงาน ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตร การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและ สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
บทบาทหน้าที่ของครูที่ควรปฏิบัติ
๑. ครูควรเป็นแม่พิมพ์ที่มีความรู้ความประพฤติที่ดี
๒. ครูเป็นผู้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมให้แก่เยาวชน
๓. ครูเป็นผู้นำทางศาสนาและวัฒนธรรม
๔. ครูมีบทบาทในการเป็นผู้พัฒนาเยาวชน เช่น ให้ความรู้ความสามารถในการทำงาน สอนให้เยาวชนมีความสำนึกที่ดี รู้ว่าอะไรถูก อะไรควรทำไม่ควรทำ
๕. บทบาทในการเป็นผู้นำทางศีลธรรม จริยธรรมและค่านิยม
๖. บทบาทในการส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรม เช่น ศรัทธา เลื่อมใสในศาสนาที่ตนนับถือ
๗. บทบาทในการพัฒนาสังคม
๘. บาทในการพัฒนาการเมืองการปกครอง
๙. บทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ

บทบาทและหน้าที่ของครู จึงเป็นบทบาทที่มีความสำคัญต่อเยาวชนและต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง ด้วยการทำหน้าที่ของครูนั้น ช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนที่จบการศึกษาออกมาแล้วให้เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาอ่านง่ายสื่อเข้าใจของความหมายนั้นมีพื้นหลังที่ดีตัดกับสีเนื้อหาไม่มีอะรัยต้องปรับปรุงเพราะโดยร่วมแล้วดูดีอ่านง่ายเข้าใจง่าน น่าอ่านดีค่ะพื้นหลังเป็นพื้นที่สดใสสวยงาม มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับหัวข้อดีคะ

    ตอบลบ